1.Fxc-P4680 รันด้วย UJ10-8 + UJ
- ถือว่าสูตรนี้ผ่านครับเพราะ DD ต่ำ, Profit อยู่ในเป้า, เหลือออร์เดอร์ค้างน้อย
2.Fxc-P1461 รันด้วย 10UJ10-8 + 10UJ
- พอร์ตใหญ่เป็น 10 เท่า จึงรันด้วย scale ใหญ่เป็น 10 เท่า
- กำไรมากตามทุน แต่ยังมีปัญหาเหลือออร์เดอร์ติดค้าง P/L ติดลบมาก
- มาดูว่าติดค้างจากกราฟไหน พบว่ามาจาก Magic Number = 1020705 ซึ่งเป็น EA สูตร UJ (Step = 7, Tp = 5)
- ส่วน Magic Number = 1021008 ซึ่งเป็น EA สูตร UJ10-8 นั้น มีออร์เดอร์เหลือค้างอยู่นิดหน่อยไม่น่ากังวล
- จะเห็นว่ายิ่ง Scale ใหญ่ขึ้น ก็มีโอกาสถึงจุด Tp ยากกว่า Scale เล็ก
3.Fxc-P1462 รันด้วย UJi05 + UJ
- i05 ที่เพิ่มมาทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น
- แต่มีข้อเสียคือ ไม้ที่ 1-5 จะมี Tp จุดเดียวกันทั้งสองกราฟ
4.Fxc-P1420 รันด้วย UJ10-8i15 + UJi15
- เป็นพอร์ตใหญ่อีกพอร์ตนึงที่ทำกำไรได้ดี
- i15 ที่เพิ่มมายังไม่มีผลช่วยอะไรเพราะยังไม่พบออร์เดอร์ไหนที่มีขนาด Lot = 5.0 เลยแม้แต่ออร์เดอร์เดียว
- ออร์เดอร์ที่ค้างอยู่เป็นของกราฟ UJ10-8i15 ดังนั้นยังสรุปไม่ได้ว่า UJ7-5 หรือ UJ10-8 อย่างไหนดีกว่ากัน
5.Fxc-P1465 รันด้วย UJ15-7 + 2UJ
- สูตรนี้ดี กำไรงาม ออร์เดอร์ค้างน้อย
6.Fxc-P1467 รันด้วย UJ15-7i05 + UJp05i05
- เพิ่งเริ่มรันตามหลังพอร์ตอื่น ๆ ได้ผลดี
7.แถม Robo-P0737 รันด้วย UJ
- เพิ่งรันตามหลังเพราะต้องการ VPS ต้องเทรดให้ครบ 3 Standard Lot Size ก่อนถึงจะได้ Free VPS
- min. Lot = 0.1 จึงจำเป็นต้องรัน Scale ใหญ่ 0.1 ทั้งที่ทุนมีเพียง $300
- ค่า Spread สูงประมาณ 2.0 pip
- อาจต้องเปลี่ยนไปรัน NU เพราะ Spread ต่ำกว่าคือประมาณ 1.7 pip
ตอนนี้ก็มาถึงช่วงสำคัญว่า จะแก้ไขพอร์ตที่ติดลบเยอะ ๆ อย่างไร
ตอบลบถ้าทางเลือก 2 อย่างคือ
1.อยู่เฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไร จงเชื่อมั่นใน EA ที่ใช้อยู่ว่าทำสามารถอยู่รอดได้ทุกสถานการณ์
2.ลดความเสี่ยงลง เท่าที่จะทำได้
ขอเลือกวิธีที่ 2 คือลดความเสี่ยงลง
ลบแม้ไม่ได้ถึงเป้าหมาย แต่ก็ยังดีกว่าขาดทุน (อันนี้จะรู้สึกกลัวเกินเหตุหรือเปล่า)
แต่ยังมีปัญหาอยู่ว่าจะลดความเสี่ยงได้อย่างไร (จะแน่ใจอย่างไรว่ามันเป็นการลดความเสี่ยงหรือเพิ่มความเสี่ยงกันแน่)
ความเสี่ยง (Risk)
ตอบลบความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบหรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงาน การเงินและการบริหาร
การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ
ตอบลบความเสี่ยงจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
ตอบลบ1)ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
2)ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
3)ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk : OR)
4)ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร (Compliance Risk : CR)
ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factor)
ตอบลบปัจจัยความเสี่ยง หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใดและจะเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกำหนดมาตรการความเสี่ยง ในภายหลังได้อย่างถูกต้อง
ปัจจัยความเสี่ยงพิจารณาได้จาก
1)ปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย ฯลฯ
2)ปัจจัยภายใน เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในองค์กร ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ระบบการทำงาน ฯลฯ
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
ตอบลบการประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact)
1)โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง
2)ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิด เหตุการณ์ความเสี่ยง
3)ระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก
การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
ตอบลบการบริหารความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงหรือผลกระทบของความเสียหายจากเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ซึ่งการจัดการความเสี่ยงมีหลายวิธีดังนี้
1)การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่า ในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง
2)การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
3)การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing) เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป
4)เลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมากและหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการ/กิจกรรมนั้น